ครูสุวิมล ฟองแก้ว ครูประจำโรงเรียนวัดถ้ำปลาวิทยาคม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เธอป่วยเป็นโรคโปลิโอมาตั้งแต่เกิด ทำให้ร่างกายไร้แขนทั้งสองข้าง โดยแขนซ้ายกุดระดับไหล่ ส่วนแขนขวาถึงระดับข้อศอก ขณะที่เท้าซ้ายก็โค้งงุ้มงอ แต่โชคดีที่เธอยังมีขาขวาที่พอจะช่วยพยุงร่างกายให้ดำเนินต่อไปได้
ครูสุวิมล เล่าว่า เธอเป็นคนจังหวัดลำปาง เกิดในครอบครัวชาวนา มีความใฝ่ฝันจะเป็น "ครู" ตั้งแต่เล็ก ๆ จึงได้ฝึกฝนทักษะการใช้เท้าซ้ายเรื่อยมา เพื่อจะได้ดำรงชีวิตประจำวันทำงานได้เหมือนคนปกติ ทั้งหยิบจับสิ่งของ ทานข้าว กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า รีดผ้า ทำกับข้าว รับโทรศัพท์ ฯลฯ และหัดเขียนด้วยการใช้เท้ามาตั้งแต่เด็ก แทบไม่น่าเชื่อว่า แม้การเขียนจะเป็นอุปสรรคกับครูสุวิมล แต่เธอก็เรียนเก่งมีผลการเรียนติด 1 ใน 5 ของห้องมาโดยตลอด
ต่อมาครูสุวิมลได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จนจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอกคอมพิวเตอร์ศึกษา โดยสาเหตุที่เลือกเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ เพราะเธอมองว่า การใช้คอมพิวเตอร์เป็นจะสามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่ต้องเป็นภาระของครอบครัว และไม่ต้องทำให้ใครเดือดร้อน
จนกระทั่งวันหนึ่ง ครูสุวิมลเห็นประกาศรับสมัคร "ครู" เธอจึงไม่รอช้าที่จะไปสอบบรรจุทันที จนสอบผ่านได้เป็น "ครู" สมใจเมื่อปี 2549 แม้ว่าในวันแรกที่เข้าไปรายงานตัวในโรงเรียน ทางโรงเรียนจะตกใจกลัวเธอจะสอนนักเรียนลำบาก แต่ด้วยประสบการณ์และทักษะการใช้เท้าบังคับเม้าท์ บวกกับการพิมพ์คอมพิวเตอร์ด้วยแขนเทียมที่ฝึกมาอย่างโชกโชน นั่นจึงไม่เป็นปัญหากับครูสุวิมลเลยแม้แต่น้อย เธอสามารถสอนลูกศิษย์ได้อย่างดี จนครั้งหนึ่งลูกศิษย์ของครูสามารถคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันเขียนโปรแกรม e-book ของนักเรียนภาคเหนือมาได้สำเร็จ สร้างความประทับใจให้กับครูเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ด้วยจิตใจของความเป็นครูที่มีอยู่เต็มเปี่ยม ทำให้ครูสุวิมลได้รับการยกย่องและชื่นชมจากครูด้วยกันเอง รวมทั้งจากนักเรียนและผู้ปกครองด้วย โดยครูสุวิมลก็บอกว่า ตลอดเวลาที่ทำหน้าที่ครู ความพิการทางกายไม่ใช่อุปสรรค แต่เธอต้องต่อสู้กับจิตใจของเธอ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้จิตใจของตัวเองอยู่เสมอ เพราะเธอรักอาชีพครูมาก และต้องการสอนเยาวชนของชาติให้มีการศึกษา เพื่อจะนำไปพัฒนาบ้านเมืองต่อไป ณ วันนี้ถือว่าภูมิใจแล้วที่สามารถก้าวมาถึงจุดนี้
และนี่ก็คือเรื่องราวครูสุวิมล ฟองแก้ว ครูยอดนักสู้ ที่ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ อย่างแรงกล้า ในการอบรมลูกศิษย์ให้มีความรู้ และเป็นคนดีของสังคม โดยที่ความพิการทางกายของเธอมิได้เป็นอุปสรรคขวางกั้นจิตวิญญาณของความเป็นครูเลย ใครที่กำลังท้อแท้กับอุปสรรคต่าง ๆ ลองดูเรื่องราวของครูสุวิมลเป็นตัวอย่าง แล้วลุกขึ้น "สู้" อีกครั้งกันเถอะค่ะ
ครูสุวิมล เล่าว่า เธอเป็นคนจังหวัดลำปาง เกิดในครอบครัวชาวนา มีความใฝ่ฝันจะเป็น "ครู" ตั้งแต่เล็ก ๆ จึงได้ฝึกฝนทักษะการใช้เท้าซ้ายเรื่อยมา เพื่อจะได้ดำรงชีวิตประจำวันทำงานได้เหมือนคนปกติ ทั้งหยิบจับสิ่งของ ทานข้าว กวาดบ้าน ถูบ้าน ซักผ้า รีดผ้า ทำกับข้าว รับโทรศัพท์ ฯลฯ และหัดเขียนด้วยการใช้เท้ามาตั้งแต่เด็ก แทบไม่น่าเชื่อว่า แม้การเขียนจะเป็นอุปสรรคกับครูสุวิมล แต่เธอก็เรียนเก่งมีผลการเรียนติด 1 ใน 5 ของห้องมาโดยตลอด
ต่อมาครูสุวิมลได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จนจบการศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอกคอมพิวเตอร์ศึกษา โดยสาเหตุที่เลือกเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ เพราะเธอมองว่า การใช้คอมพิวเตอร์เป็นจะสามารถนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ โดยไม่ต้องเป็นภาระของครอบครัว และไม่ต้องทำให้ใครเดือดร้อน
จนกระทั่งวันหนึ่ง ครูสุวิมลเห็นประกาศรับสมัคร "ครู" เธอจึงไม่รอช้าที่จะไปสอบบรรจุทันที จนสอบผ่านได้เป็น "ครู" สมใจเมื่อปี 2549 แม้ว่าในวันแรกที่เข้าไปรายงานตัวในโรงเรียน ทางโรงเรียนจะตกใจกลัวเธอจะสอนนักเรียนลำบาก แต่ด้วยประสบการณ์และทักษะการใช้เท้าบังคับเม้าท์ บวกกับการพิมพ์คอมพิวเตอร์ด้วยแขนเทียมที่ฝึกมาอย่างโชกโชน นั่นจึงไม่เป็นปัญหากับครูสุวิมลเลยแม้แต่น้อย เธอสามารถสอนลูกศิษย์ได้อย่างดี จนครั้งหนึ่งลูกศิษย์ของครูสามารถคว้าเหรียญทอง ในการแข่งขันเขียนโปรแกรม e-book ของนักเรียนภาคเหนือมาได้สำเร็จ สร้างความประทับใจให้กับครูเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ด้วยจิตใจของความเป็นครูที่มีอยู่เต็มเปี่ยม ทำให้ครูสุวิมลได้รับการยกย่องและชื่นชมจากครูด้วยกันเอง รวมทั้งจากนักเรียนและผู้ปกครองด้วย โดยครูสุวิมลก็บอกว่า ตลอดเวลาที่ทำหน้าที่ครู ความพิการทางกายไม่ใช่อุปสรรค แต่เธอต้องต่อสู้กับจิตใจของเธอ ต้องสร้างความเข้มแข็งให้จิตใจของตัวเองอยู่เสมอ เพราะเธอรักอาชีพครูมาก และต้องการสอนเยาวชนของชาติให้มีการศึกษา เพื่อจะนำไปพัฒนาบ้านเมืองต่อไป ณ วันนี้ถือว่าภูมิใจแล้วที่สามารถก้าวมาถึงจุดนี้
และนี่ก็คือเรื่องราวครูสุวิมล ฟองแก้ว ครูยอดนักสู้ ที่ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ อย่างแรงกล้า ในการอบรมลูกศิษย์ให้มีความรู้ และเป็นคนดีของสังคม โดยที่ความพิการทางกายของเธอมิได้เป็นอุปสรรคขวางกั้นจิตวิญญาณของความเป็นครูเลย ใครที่กำลังท้อแท้กับอุปสรรคต่าง ๆ ลองดูเรื่องราวของครูสุวิมลเป็นตัวอย่าง แล้วลุกขึ้น "สู้" อีกครั้งกันเถอะค่ะ
ที่มา กระปุกดอทคอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น